ทำความรู้จัก IFRA IoT ไอโอทีแพลตฟอร์มน้องใหม่ของไทย

สวัสดีครับ นักพัฒนาทุกท่าน วันนี้ผมจะมาแนะนำ IoT Platform ใหม่ เชื่อ IFRA IoT ที่จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ของนักพัฒนาไทย และช่วยให้นักพัฒนา IoT ไทยพัฒนาโปรเจ็คเจ๋งๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ชีวิตผู้คนรอบตัวเราสะดวกสบายมากขึ้น

IoT Platform คืออะไร

Wireless IoT Architecture

ก่อนที่จะพูดถึง IoT Platform เราต้องพูดถึงเรื่องสถาปัตยกรรมของระบบ IoT ที่ได้รับความนิยมกันก่อน โดยสถาปัตยกรรมของระบบ IoT ส่วนใหญ่จะประกอบด้วย ชั้นล่างสุด นั่นก็คือชั้นของ Thing เป็นชั้นที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ทำงานร่วมกับเซนเซอร์ (Sensor) ที่ทำหน้าที่ช่วยให้วัตถุรอบตัวเราสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้และใช้ประโยชน์จากมัน และชั้นถัดมาก็จะเป็นชั้นของ Gateway เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีพลังการคำนวนดีขึ้นมากจากฮาร์ดแวร์ในชั้น Thing โดยอุปกรณ์ในชั้นของ Gateway จะทำหน้าที่หลัก ๆ คือเป็นตัวกลางที่จะเชื่อมต่ออิเตอร์เน็ตแทน Thing เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้กับระบบ ส่วนชั้นสูงสุดจะเป็น Cloud ที่เป็นชุดซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าในการจัดเก็บข้อมูลที่อุปกรณ์ IOT ส่งมาและนำข้อมูลเหล่านั้นไปช่วยในการตัดสินใจต่างๆ ตามที่นักพัฒนาต้องการ โดย IoT Platform ก็จะทำงานอยู่ในชั้นนี้เช่นกัน

 

ทำไมต้องใช้ IOT Platform?

เนื่องจากการพัฒนาโครงการ IoT เป็นการใช้เทคโนโลยีจากหลายๆ ส่วนที่มีความซับซ้อนที่แตกต่างกันไป และโดยพื้นฐานแล้วการพัฒนาจำเป็นเป็นต้องมีเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาเกี่ยวข้องได้แก่

  • Hardware ที่จะทำหน้าที่ทั้งอ่านค่า (Sensor) และ ตอบสนอง (Actuator) รวมทั้งการทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตส่งข้อมูลหรือรับข้อมูล
  • Software ที่ต้องเป็นอีกหนึ่งส่วนที่สำคัญ ที่จะช่วยให้นักพัฒนาสามารถโปรแกรมการทำงานของทั้งอุปกรณ์และระบบหลังบ้านให้ทำงานตามความต้องของเรา
  • Network หรือเครือข่าย ที่ช่วยให้อุปกรณ์ IoT เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้อุปกรณ์ใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตได้ ดังที่มนุษย์ได้ใช้ประโยชนย์จากอินเตอร์เน็ต

ดังนั้นเพื่อเป็นการลดเวลาที่นักพัฒนาต้องใช้เวลาจำนวนมากในการพัฒนาซอฟต์แวร์หลังบ้านที่สนับสนุนการทำงานของอุปกรณ์ IoT Platform ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยคุณพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดหรือส่งมอบลูกค้าได้ทันเวลา

ทำไมต้อง IFRA IoT ?

  • สร้างต้นแบบ (Prototyping) แพลตฟอร์มถูกออกแบบมาให้ง่ายต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบหากคุณเป็นต้นหนึ่งที่มีไอเดียดีๆ ก็สามารถให้ IFRA IoT ในการสร้างต้นแบบได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่นาที
  • เวลาออกสู่ตลาด (Time to market) เเพลตฟอร์ม มีเครื่องมือที่จำเป็นและมีประโยชน์ช่วยลดเวลาการพัฒนา ช่วยให้สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ส่งมอบงานหรือออกสู่ตลาดได้เร็ว
  • การขยาย (Scalable) หากในอนาคตไอเดียหรือต้นแบบของคุณต้องการที่จะขยายเพื่อรองรับอุปกรณ์จำนวนมา IFRA IoT ช่วยให้คุณเพิ่ม/ลดจำนวนอุปกรณ์ได้อย่างง่ายได้

IFRA Platform จะช่วยนักพัฒนาอย่างไรบ้าง ?

  • Thing Mangement เป็นฟังก์ชั่นที่จะช่วยให้นักพัฒนาบริหารจัดการอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้การเพิ่ม/ลดจำนวนอุปกรณ์เป็นเรื่องง่ายๆ ไม่ต้องเขียนโปรแกรมในส่วนของหลังบ้านให้เสียเวลา อีกทั้งยังช่วยให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้นว่า มีสรรพสิ่ง (Things) อะไรบ้าง และมีอุปกรณ์ (Device) อะไรที่ทำงานอยู่กับสรรพสิ่งบ้าง และสุดท้ายอุปกรณ์นั้นมีการใช้เซ็นเซอร์วัดค่า (Measurement) หรือควบคุมอะไรบ้าง
ภาพความสัมพันธ์ระหว่าง Thing->Device->Measurement
ภาพตัวอย่างการจัดการ Things
  • Connectivity หลังจากจัดการ Things เสร็จแล้วก็จะเป็นฟังก์ชันด้านการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์และเเพลตฟอร์ม ที่จำเป็นต้องมีความมั่นคงและโปรโตคอลในการสื่อสารข้อมูล โดยรองรับทั้ง MQTT (Message Queuing Telemetry Transport) และ HTTP (The Hypertext Transfer Protocol) นอกจากนี้ ยังมีการวางรูปแบบของข้อมูลที่มีการปรับใช้มาตรฐาน Sensor Measurement Lists (SenML) เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานร่วมกัน (Interoperability) ระหว่างอุปกรณ์
  • Data Collection การจัดเก็บข้อมูลที่ได้จากเซนเซอร์ก็เป็นอีกฟังก์ชั่นที่สำคัญที่แพลตฟอร์มช่วยเหลือให้นักพัฒนาไม่ต้องตั้ง Server เองเพื่อติดตั้งฐานข้อมูล โดยแพลตฟอร์มมีฐานข้อมูลที่เหมาะสมกับการเก็บข้อมูลที่ต้องการความเร็วสูงในการเก็บและการค้นคืน มีการสำรองข้อมูลตลอดการใช้งาน
  • Event/Trigger แน่นอนว่าเมื่อเราได้ข้อมูลมาจากอุปกรณ์ IoT แล้วเราก็สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาประมวลผลได้ โดยเริ่มจากการประมวลผลแบบง่ายตั้ง การสร้างเงื่อนไงของค่าจากเซ็นเซอร์ เพื่อ Trigger ไปยังระบบอื่นๆ เช่น Line , HTTP API, E-mail เป็นต้น
  • System Integration สำหรับนักพัฒนาที่ต้องการ Integrate แฟลตฟอร์มกับระบบอื่นๆ ก็สามารถใช้ Open API ของแพลตฟอร์มที่เปิดให้นักพัฒนาสามารถเขียนแอปพลิเคชั่นเข้ามาอ่านข้อมูลจากแพลตฟอร์มได้ผ่านทั้ง HTTPS และ MQTT
  • Data Visualization แพลตฟอร์มรองรับการสร้างการแสดงภาพข้อมูลในรูปต่างๆ กราฟเส้น (Line Chart) เกจ (Gauge) และอื่นๆ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างง่ายมากขึ้น
ภาพวิดเจ็ตพื้นฐาน
ภาพตัวอย่างการแสดงข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
  • Whlie Label สำหรับนักพัฒนาที่ต้องทำโปรเจ็คหรือผลิตภัณฑ์ของตัวเอง แต่ต้องการปรับแต่ระบบเป็นขององค์กรหรือลูกค้า ก็สามารถปรับแต่ง สีของระบบ โลโก้ และโดเมนเนม เป็นของตัวเองได้ง่ายๆ ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ

เหมาะสำหรับใคร?

เนื่องจากแพลตฟอร์มถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย ไม่ซับซ้อน สำหรับนักพัฒนาหรือนักศึกษาที่กำลังเริ่มต้นพัฒนาโปรเจ็ค IoT ของตัวเองอยู่ แพลตฟอร์มนี้ก็เป็นตัวเลือกที่ดีในการเริ่มต้น ดังนั้นแพลตฟอร์มนี้เหมาะสำหรับ

  • นักเรียน/นักศึกษา
  • นักพัฒนาด้าน IoT ที่ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวเอง หรือส่งมอบให้กับลูกค้า

สรุป

IFRA IoT เป็นแพลตฟอร์มที่จะช่วยให้นักพัฒนาระบบ IoT ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สุดท้ายนี้ทีมพัฒนาของเราพร้อมที่จะรับ Feedback หรือคำติชมเพื่อใช้ในการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อช่วยให้พัฒนาไทยมีเครื่องมือดีๆ ใช้ในการทำงาน

 

ฝากติดตามผลงานหรือรวมออกความคิดเห็นได้ตามลิ้งด้านล่างนี้ครับ

Facebook Group: https://www.facebook.com/groups/2733756676717051

Facebook Page: https://www.facebook.com/ifraiot

Website: https://ifra.io

สมัครใช้งานฟรี: http://app.ifra.io